วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Happy New Year




สวัสดีปีใหม่ ปีใหม่ปีนี้ขอให้ทุกคนมีความสุขมาก คิดอะไรขอให้สมหวังทุกประการ

Happy New Year


วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method)


วิธีการสอนแบบฟัง-พูด เป็นวิธีที่เน้นทักษะพูดและฟัง ลักษณะสำคัญของวิธีสอนนี้คือ
- ทักษะพูดและทักษะฟัง เป็นทักษะที่ต้องพัฒนาก่อนทักษะอ่าน และเขียน
- ไม่สนับสนุนการใช้ภาษาที่หนึ่งในชั้นเรียน
- ทักษะทางภาษาเป็นรูปแบบที่ตายตัวดังนั้นควรฝึก pattern ของภาษาที่เป็นรูปบทสนทนา(dialogue) เกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาได้โดยอัตโนมัติ เพราะวิธีสอนแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นในระหว่างช่วงสงคามโลกครั้งที่ 2 จากความจำเป็นที่ทหารจะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ในช่วงที่ทำการรบในต่างประเทศ วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลที่ใช้แต่เดิมนั้นไม่สามารถช่วยให้พูดภาษาต่างประเทศได้ ในช่วงเวลานั้น นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมกำลังได้รับความสนใจ แนวคิดนี้นำไปสู่การสอนแบบฟัง-พูด ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในช่วง ค.ศ. 1980-1960 เรียกว่าวิธีสอนแบบนี้ว่า วิธีสอนแบบภาษาศาสตร์ (linguistic method) หรือวิธีสอนแบบฟัง-พูด (aural-oral method) ต่อมาปี ค.ศ. 1964 Nelsen Brooks แห่งมหาวิทยาลัยเยล ได้เรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า audio-lingual method) และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (สุมิตรา อังวัฒนกุล. 2539 : 54-55)

ลักษณะพื้นฐานของของการสอนแบบฟัง-พูดมีดังนี้ (Baker. Colin and Sylvia. 1998 : 673)
1. คำศัพท์ และรูปประโยคจะถูกสอนเป็นลำดับก่อนหลัง เน้นความถูกต้องของกฎเกณฑ์ภาษาและการออกเสียงทักษะเหล่านี้ทำได้โดยการฝึกซ้ำ ๆ โดยครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมการฝึกทั้งหมดลักษณะการฝึกซ้ำ ๆ (drill)
2. เน้นการทำแบบฝึกหัด (drill) และบทสนทนา (dialogue) ในแต่ละ dialogue จะประกอบไปด้วยหลักการใช้แกรมม่าและการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารวิธีเรียนคือท่องบทสนทนาจนขึ้นใจ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการใช้กฎเกณฑ์ของภาษา
3. วิธีการสอนแบบนี้ครูจะเป็นศูนย์กลางควบคุมกระบวนการเรียนการสอน แนะนำ และตรวจแก้การใช้ภาษาของนักเรียน ครูจะใช้สื่อในด้านการฟังช่วย เช่น เทปบันทึกเสียง และห้องปฏิบัติการทางภาษา โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการทางภาษาจะช่วยให้ผู้เรียน มีโอกาสในการฝึกภาษาด้วยตนเองได้
การสอนแบบฟัง-พูดได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของSkinner ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ทั้งหมดเป็นกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และถูกเสริมแรงจนกระทั่งกลายเป็นนิสัย การเรียนรู้ภาษาก็มิได้แตกต่างจากการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ คือถ้าจะให้เกิดเป็นนิสัย หรือเกิดการเรียนรู้ต้องฝึกบ่อย ๆ โดยการปฏิบัติซ้ำ

วิธีสอนแบบฟัง-พูด มีข้อจำกัดที่สำคัญอยู่ 2 ข้อคือ
1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีนี้พบว่ามีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ในสถานการณ์ที่เป็นจริงเพราะการสื่อสารนอกห้องเรียน มีความซับซ้อนมากกว่าโครงสร้างของบทสนทนาที่ครูให้นักเรียนท่องในชั้นเรียน เมื่อพบกับปัญหานักเรียนจึงไม่สามารถใช้ภาษา เพื่อต่อรองความหมาย (negotiate meaning) ได้จึงทำให้การสนทนาล้มลงกลางคัน
2. ทฤษฎีภาษาศาสตร์ของอเมริกันเปลี่ยนไปในช่วงปี 1960 โดยนักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ Noam Chomsky ปฏิเสธการเรียนภาษาโดยการวิเคราะห์โครงสร้างทางภาษา และทฤษฎีการเรียนรู้ทางภาษาของกลุ่มพฤติกรรมนิยม Chomsky ได้คิดทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาขึ้นมาจาก แนวคิดพื้นฐานที่ว่าการใช้ ภาษาไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการเลียนแบบ หรือทำซ้ำ ๆ แต่เกิดขึ้นโดยผู้เรียนเกิดสมรรถนะทางภาษา แนวคิดของ Chomsky มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร (communicative approach )


การสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method) เป็นการสอนที่ดี เป็นการสอนแบบตอกย้ำ ซ้ำเติม เพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียน นอกจากนี้ยังช่วยให้การเรียนไม่น่าเบื่ออีกด้วย ถ้าหากผู้สอนนำสิ่งใหม่ ๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Past Simple Tense




โครงสร้าง: Subject + verb ช่องที่ 2


หลักการใช้
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ้นสุดแล้ว มี Adverb บอกเวลาในอดีตกำกับด้วย เช่น
He saw you yesterday. (เขาเห็นคุณเมื่อวานนี้)
I went to America last year. (ผมไปอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว)


2. เหตุการณ์หนึ่งกระทำเป็นประจำในอดีต แต่บัดนี้ไม่ได้ทำอีก เช่น
When she was young, she was very clever. (เมื่อตอนหล่อนยังเด็ก หล่อนเป็นคนที่ฉลาดมาก)
I used to get up early in the morning. (ฉันเคยตื่นนอนตอนเช้าตรู่ ( ปัจจุบันไม่ได้ตื่นเช้าแล้ว )


3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั่วระยะเวลาหนึ่งในอดีต และระยะเวลานั้นได้ล่วงเลยมาแล้ว เช่น
We lived there during last spring.(พวกเราอาศัยอยู่ที่นั่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่แล้ว)
I heard the blacksmith working all day long.(ฉันได้ยินช่างตีเหล็กทำงานตลอดทั้งวัน)


4. ใช้แสดงถึงการสมมุติหรือข้อแม้ ในปัจจุบันหรือในอนาคต ตามหลังคำว่า If, Unless, Wish เช่น
If I were you I would love her. (ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะรักเธอ)




ข้อสังเกต ถ้าหากมีคำเหล่านี้ในประโยค ago, last week, last month, last year, yesterday , last night a long time , the day before yesterday แสดงว่าประโยคนั้นเป็น Past Simple Tense นะจ๊ะ

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Pronouns ( คำสรรพนาม )


Pronoun ( คำสรรพนาม ) คือคำที่ใช้แทนคำนามหรือคำเสมอนาม ( nouns- equivalent ) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร คำสรรพนาม (pronouns ) แยกออกเป็น 7 ชนิด คือ
Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม ) เช่น I, you, we, he , she ,it, they
Possessive Pronoun ( สรรพนามเจ้าของ ) เช่น mine, yours, his, hers, its,theirs, ours
Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) เป็นคำที่มี - self ลงท้าย เช่น myself, yourself,ourselves
Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเจาะจง ) เช่น this, that, these, those, one, such, the same
Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เจาะจง ) เช่น all, some, any, somebody, something, someone
Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) เช่น Who, Which, What
Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) เช่น who, which, that

Personal Pronouns ( บุรุษสรรพนาม ) คือสรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของในการพูดสนทนา มี 3 บุรุษคือ
บุรุษที่ 1 ได้แก่ตัวผู้พูด I, we
บุรุษที่ 2 ได้แก่ผู้ฟัง you
บุรุษที่ 3 ได้แก่ผู้ ที่พูดถึง สิ่งที่พูดถึง he, she. it , they

การใช้ Pronouns หรือ คำสรรพนาม แทน ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เมื่อเราจำเป็นจะต้องกล่าวคำเหล่านั้นซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง จะช่วยให้บทสนทนา หรือ บทความที่เราเขียน ไม่น่าเบื่อหน่ายแต่จะทำให้บทสนทนาหรือบทความมีความน่าสนใจมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Teaching Plan


Semester 1 academic year 2008
Level 3 Secondary 1 English Program
Time 1 period ( 50 minutes)
Name of Unit: Food and Drink.
Topic: Drink.


1. Concept.
Having something to drink is the most important thing for life. If you make a drink by yourself, you will be happy and have a sense of accomplishment.

2. Learning standard.
Standard T.1.1.1 Perform following read the recipe for making a chocolate follow by making a chocolate milkshake and explain. What you are doing ?

3. Lesson content.
1. Vocabulary.
2. Practice reading.
3. Grammar / Present simple tense.

4. Leaning Activities.
Learning outcome.
1. Students can read the chocolate milkshake recipe correctly.
2. Students can make chocolate milkshake and follow the steps correctly.
3. Students are learning things that to apply to their daily lifes.
4. Grammar and sentence structure by reading the chocolate milkshake recipe.
Activities
Teacher
Warm Up
Sing a song.
( Down and up )
Students
Sing a song.
( Down and up )
Teacher
Lead In
- What kind of drinks do you like?
Students
Apple juice.
Orange juice
Coke
Teacher
Can you make drinks by your self?
Students
Yes, I can. / No, I can’t.
Then students talk with partner.
Teacher
Presentation
Today we are going to learn about drinks.
Students look one part of the picture on the blackboard and guess
“ What it is ”
Students
Students look at one part of the picture on the blackboard and guesses.
“ It is coffee ”
“ It is milk ”
“ It is chocolate ”
Teacher
Do you know how to make a chocolate milkshake?
Students
Yes, I know.
No, I don’t know
Teacher
Practice
Divide students in 4 groups.
Five or four people per group. Divide groups up by picking chocolate powder, cream powder, teaspoon or glass.
Students
Students divide in 4 groups.
Five or four people per group. Divide groups up by picking chocolate powder, cream powder, teaspoon or grass.
Teacher
One student from each group goes to the front of the classroom and chooses a vocabulary card about the ingredients to stick on the blackboard in mind map.
Teacher checks and give score.
Students
One student from each group goes to the front of classroom and choose vocabulary card about ingredients to stick on the blackboard in mind map.
Then students read together.
Evaluation
Students are able to choose ingredients for make chocolate milkshake correctly.
Teacher
Teacher gives sentence cards about the chocolate milkshake recipe o each group of students.
Students line up sentence cards on the blackboard.
Students
Student line up sentence cards on the blackboard.
Teacher
Teacher gives one context and one evaluation to each group of student.
Evaluation
Students can line up the chocolate milkshake recipe correctly.
Teacher
Teacher checks again and gives score.
Students
Each Student group reads. One sentence per group and checks on the blackboard.
Teacher
After that teacher reads the chocolate milkshake recipe one more time.
Students
Student listen to teacher.
Teacher
Teacher reads one sentence.
Students
Students follow.
Teacher
Student read / one student per sentence.
Students
Student read / one student per sentence
Evaluation
Teacher evaluate reading of each students.
Teacher
Students read and memorize for 2 minutes.
Students
Students read and memorize for 2 minutes.
Teacher
Students turn sheet face down and resite recipe.
Students
1. Put the jellies into a glass.
2. Put the chocolate powder into the jar.
3. Add the hot water and stir.
Teacher
Teacher teaches new vocabularies such as
Put ( v ) , Add ( v ) ,
Shake ( v ) , Pour ( v )
Stir ( v )
Students
Student tell teacher meaning of vocabulary.
Teacher
From context
“what is tense”
Students
Students help conclude present simple tense from context.
Teacher
What is missing from the sentence?
Students look in context and tell subject missing.
Students
Students look in context and tell subject missing.
Teacher
Teacher tells the students, these sentences have no subject because they are directions for recipe.
Teacher
Production.
Students in each group make a chocolate milkshake starting with milk group, teaspoon group, cream powder group and Chocolate powder group.
Students
Student in each group make a chocolate milkshake start with milk group, teaspoon group, cream powder group and Chocolate powder group.
Each student group evaluates the other making a chocolate milkshake.
Evaluation
Each student group evaluates the other making a chocolate milkshake.
Teacher
Home work.

Teacher assign students to find good healthy or unhealthy pictures of drink to show in the next class.

6. Materials.
- Materials such as powder, jar, cream powder, milk etc.
- Context about chocolate milkshake recipe.
- Vocabulary card such as chocolate powder, milk, cream powder.
- Picture card.

7. Measurement and Evaluation.
1. Observe students doing activity, work group.
2. Check the correction of reading context.
3. Check knowledge and understanding about present simple tense.
4. Observe students study activity.

8. Optional Activities.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

9. Teacher’s comment of the teaching unit.

1. Teaching out come.
--------------------------------------------------------------------------
2. Problems occurred.
--------------------------------------------------------------------------
3. Improvement.
--------------------------------------------------------------------------

Worksheet.


Chocolate milkshake
Ingredients.
3 teaspoons of chocolate powder
1 glass of hot water
1 glass of syrup
1 teaspoon of milk
2 teaspoons Cream powder
4 teaspoons of jellies
1 big glass of ice

Directions.
1. Put the jellies into a glass.
2. Put the chocolate powder into the jar.
3. Add the hot water and stir.
4. Add the syrup.
5. Add the milk and stir.
6. Add the cream powder.
7. Put the ice into the jar.
8. Put the lid on the jar.
9. Shake it all together.
10. Pour it into a glass.


Adapted from ฟิลลิปส์ ซาร่า. กิจกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก = Young learners. กรุงเทพ ฯ :
หน้าต่างสู่การศึกษา, 2545. หน้า 210.