วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Happy New Year




สวัสดีปีใหม่ ปีใหม่ปีนี้ขอให้ทุกคนมีความสุขมาก คิดอะไรขอให้สมหวังทุกประการ

Happy New Year


วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method)


วิธีการสอนแบบฟัง-พูด เป็นวิธีที่เน้นทักษะพูดและฟัง ลักษณะสำคัญของวิธีสอนนี้คือ
- ทักษะพูดและทักษะฟัง เป็นทักษะที่ต้องพัฒนาก่อนทักษะอ่าน และเขียน
- ไม่สนับสนุนการใช้ภาษาที่หนึ่งในชั้นเรียน
- ทักษะทางภาษาเป็นรูปแบบที่ตายตัวดังนั้นควรฝึก pattern ของภาษาที่เป็นรูปบทสนทนา(dialogue) เกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาได้โดยอัตโนมัติ เพราะวิธีสอนแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นในระหว่างช่วงสงคามโลกครั้งที่ 2 จากความจำเป็นที่ทหารจะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ในช่วงที่ทำการรบในต่างประเทศ วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลที่ใช้แต่เดิมนั้นไม่สามารถช่วยให้พูดภาษาต่างประเทศได้ ในช่วงเวลานั้น นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมกำลังได้รับความสนใจ แนวคิดนี้นำไปสู่การสอนแบบฟัง-พูด ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในช่วง ค.ศ. 1980-1960 เรียกว่าวิธีสอนแบบนี้ว่า วิธีสอนแบบภาษาศาสตร์ (linguistic method) หรือวิธีสอนแบบฟัง-พูด (aural-oral method) ต่อมาปี ค.ศ. 1964 Nelsen Brooks แห่งมหาวิทยาลัยเยล ได้เรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า audio-lingual method) และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (สุมิตรา อังวัฒนกุล. 2539 : 54-55)

ลักษณะพื้นฐานของของการสอนแบบฟัง-พูดมีดังนี้ (Baker. Colin and Sylvia. 1998 : 673)
1. คำศัพท์ และรูปประโยคจะถูกสอนเป็นลำดับก่อนหลัง เน้นความถูกต้องของกฎเกณฑ์ภาษาและการออกเสียงทักษะเหล่านี้ทำได้โดยการฝึกซ้ำ ๆ โดยครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมการฝึกทั้งหมดลักษณะการฝึกซ้ำ ๆ (drill)
2. เน้นการทำแบบฝึกหัด (drill) และบทสนทนา (dialogue) ในแต่ละ dialogue จะประกอบไปด้วยหลักการใช้แกรมม่าและการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารวิธีเรียนคือท่องบทสนทนาจนขึ้นใจ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการใช้กฎเกณฑ์ของภาษา
3. วิธีการสอนแบบนี้ครูจะเป็นศูนย์กลางควบคุมกระบวนการเรียนการสอน แนะนำ และตรวจแก้การใช้ภาษาของนักเรียน ครูจะใช้สื่อในด้านการฟังช่วย เช่น เทปบันทึกเสียง และห้องปฏิบัติการทางภาษา โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการทางภาษาจะช่วยให้ผู้เรียน มีโอกาสในการฝึกภาษาด้วยตนเองได้
การสอนแบบฟัง-พูดได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของSkinner ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ทั้งหมดเป็นกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และถูกเสริมแรงจนกระทั่งกลายเป็นนิสัย การเรียนรู้ภาษาก็มิได้แตกต่างจากการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ คือถ้าจะให้เกิดเป็นนิสัย หรือเกิดการเรียนรู้ต้องฝึกบ่อย ๆ โดยการปฏิบัติซ้ำ

วิธีสอนแบบฟัง-พูด มีข้อจำกัดที่สำคัญอยู่ 2 ข้อคือ
1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีนี้พบว่ามีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ในสถานการณ์ที่เป็นจริงเพราะการสื่อสารนอกห้องเรียน มีความซับซ้อนมากกว่าโครงสร้างของบทสนทนาที่ครูให้นักเรียนท่องในชั้นเรียน เมื่อพบกับปัญหานักเรียนจึงไม่สามารถใช้ภาษา เพื่อต่อรองความหมาย (negotiate meaning) ได้จึงทำให้การสนทนาล้มลงกลางคัน
2. ทฤษฎีภาษาศาสตร์ของอเมริกันเปลี่ยนไปในช่วงปี 1960 โดยนักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ Noam Chomsky ปฏิเสธการเรียนภาษาโดยการวิเคราะห์โครงสร้างทางภาษา และทฤษฎีการเรียนรู้ทางภาษาของกลุ่มพฤติกรรมนิยม Chomsky ได้คิดทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาขึ้นมาจาก แนวคิดพื้นฐานที่ว่าการใช้ ภาษาไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการเลียนแบบ หรือทำซ้ำ ๆ แต่เกิดขึ้นโดยผู้เรียนเกิดสมรรถนะทางภาษา แนวคิดของ Chomsky มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร (communicative approach )


การสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method) เป็นการสอนที่ดี เป็นการสอนแบบตอกย้ำ ซ้ำเติม เพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียน นอกจากนี้ยังช่วยให้การเรียนไม่น่าเบื่ออีกด้วย ถ้าหากผู้สอนนำสิ่งใหม่ ๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน